โรคปอดบวมในเด็ก หรือโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการติดเชื้อที่ปอด โดยสาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื่ออื่น ๆ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา เชื้อรา ซึ่งจะทำให้ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่นไอ หอบเหนื่อย หายใจลำบากเป็นต้น และถ้าหากมีอาการที่รุนแรงก็อาจจะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรใส่ใจกับโรคนี้ให้มาก
โรคปอดบวมในเด็ก สามารถติดต่อผ่านทางไหนได้บ้าง
โรคปอดบวมเป็นโรคที่ติดต่อได้ผ่านการหายใจเข้าสู่ปอดโดยตรง ซึ่งเชื้อโรคมักจะปะปนในละอองฝอยขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ โดยจุดเสี่ยงก็คือบริเวณที่มีคนอยู่เยอะ ๆ เช่น ตลาด สถานบันเทิงกลางคืน ห้องเรียน โรงภาพยนตร์ กองทหาร เรือนจำ เป็นต้น
ผู้ที่เป็นปอดบวมก็สามารถแพร่เชื้อได้ถึงแม้จะไม่มีอาการก็ตาม ดังนั้นผู้ปกครองควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็ก
อาการ โรคปอดบวมในเด็ก ที่ควรเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด
มีไข้ หายใจเร็ว ไอไม่หยุด หายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย หายใจแรงจนรูจมูกบาน หายใจจนหน้าอกบุ๋ม หากหลอดลมในปอดตีบอาจจะหายใจมีเสียวี๊ด หากมีอาการรุนแรงก็อาจจะถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ หากหายใจลำบากเป็นเวลานาน ร่างกายก็จะออกซิเจน มีอาการซึมลง แล้วหมดสติไปในที่สุด
การรักษา โรคปอดบวมในเด็ก
- ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ หากมีอาการหอบมากจนทานอาหารไม่ได้ ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือด งดทานอาหารเพื่อป้องกันการสำลัก
- ให้ออกซิเจน
- ให้ยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีเสียงหายใจวี๊ด
- หากให้สารน้ำจนเต็มแล้วแต่เสมหะยังเหนียว ควรให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ
- การรักษา โรคปอดบวมในเด็ก ตามชนิดของเชื้อ
การป้องกัน โรคปอดบวมในเด็ก
- ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่มีผู้คนพลุกพล่าน แออัด
- หลีกเลี่ยงการสูดควันไฟ ควันท่อไอเสีย ควันบุหรี่ หรืออากาศที่หนาวเย็น
- ไม่ควรให้เด็กใกล้ชิดผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และลดความรุนแรงของโรคได้
จะเห็นได้ว่า โรคปอดบวมในเด็ก สามารถป้องกัน และรักษาได้ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองควรต้องดูแลเฝ้าระวังใส่ใจลูกให้มากที่สุดเพื่อให้ห่างไกลจากโรค แต่หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติอย่างที่กล่าวไปข้างต้น หรือสงสัยว่าจะเป็นปอดบวม ปอดอักเสบก็ควรรีบพาไปหาหมอเพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป