น้ำปลาร้า มีกี่แบบ มีลักษณะอย่างไรบ้าง

น้ำปลาร้า ถือเป็นสิ่งที่ต้องมีติดครัวไว้เพราะสามารถใช้นำมาประกอบอาหารได้หลายอย่างโดยเฉพาะเมนูอาหารอีสาน เช่น ส้มตำ ต้ม แกง หรือยำ ที่ปัจจุบันโด่งดังไปไกลหลายประเทศ เพราะช่วยเสริมรสชาติให้เข้มข้นกลมกล่อม มีกลิ่นที่ชวนเรียกน้ำลาย แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ก็ควรพิจารณาให้ตรงกับอาหารที่ควรทำเพราะปลาร้าแบ่งได้หลายแบบ โดยแบ่งได้ดังนี้

ประเภทของ น้ำปลาร้า

ปลาร้าหอม – ปลาร้าชนิดนี้ทำมาจากปลาตัวใหญ่อย่างปลาช่อน มีกลิ่นหอม ออกสีแดง น่าทานการผลิตหรือการหมักจะใช้เกลือมากเป็นพิเศษ คือ ใช้เกลือ 2 ส่วน ปลา 4 ส่วน ใช้รำหรือข้าวคั่ว 1 ส่วน

ปลาร้านัว – ปลาร้านัวจะใช้ปลาขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางในการผลิต เป็นปลาร้าที่มีกลิ่นหอมแต่ไม่เท่าปลาร้าหอม การหมักจะใช้เกลือกับรำอย่างละ 1 ส่วน และใช้ปลา 4 ส่วน

ปลาร้าโหน่ง – เป็นปลาร้าที่ใช้เวลาหมักนานโดยอาจจะถึง 10 เดือนหรือ 1 ปีขึ้นไป จึงทำให้มีกลิ่นที่แรง สีค่อนข้างคล้ำ ปลาที่ใช้ผลิตจะเป็นปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย การหมัก ใช้เกลือและรำอย่างละ 1 ส่วน ใช้ปลา 4 ส่วน ส่วนมากจะนิยมมาปรุงส้มตำ

น้ำปลาร้า แบ่งตามประเภทข้าวที่ใช้ผลิต มีอยู่ 2 แบบคือ

ปลาร้ารำข้าว – ส่วนใหญ่จะนิยมผลิตในภาคอีสาน รำข้าวที่ใช้ก็นำมาจากโรงสีทั่วไป จึงทำให้ปลาร้ามักจะมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมแดง มีกลิ่นหอมน่าทานมักจะนำมาปรุงในเมนูส้มตำ

ปลาร้าข้าวคั่ว – เป็นปลาร้าใช้ให้ข้าวค่ำหมักแทนรำข้าว โดยต้องตำหรือบดข้าวค่ำให้ละเอียด ปลาร้าที่ได้จะมีกลิ่นหอมนุ่มนวล เนื้อปลาจะอ่อน เมนูที่นิยมนำปลาร้าข้าวคั่วมาประกอบอาหาร เช่น ปลาร้าทรงเครื่อง ปลาร้าหลน เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ก็คือประเภทของ น้ำปลาร้า ส่วนการเลือกซื้อที่ปัจจุบันก็มีแบบสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย มีการผสมวัตถุดิบที่ช่วยเพิ่มรสชาติตามสูตรของแต่แบรนด์ไม่ว่าจะเป็น สับปะรด ใบกระฉิน ใบหม่อน น้ำตาลปี๊บ กระเทียมดอง กะปิ เป็นต้น การเลือกซื้อต้องดูให้ละเอียด รวมไปถึงควรเลือกแบบที่มีการรับรองจาก อย. เลือกน้ำปลาร้าสุก หรือแบบผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เลือกยี่ห้อที่ได้รับความนิยม ก็จะช่วยทำให้มั่นใจในความสะอาดปลอดภัยมากขึ้น ส่วนใครอยากใช้แบบเพื่อสุขภาพก็ให้เลือกที่มีส่วนมีปริมาณโซเดียมน้อย ปริมาณน้ำตาลไม่สูง และไม่มีสารปรุงแต่งอื่น ๆ เช่น น้ำปลาร้าคีโต หรือน้ำปลาร้าที่ใช้เกลือหิมาลัย เป็นต้น